คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
  • หน้าแรกHome
  • เกี่ยวกับเราAbout us
    • ความเป็นมา วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • การบริหาร
      • คณะกรรมการประจำคณะ
      • คณะผู้บริหาร
    • อาจารย์
      • กลุ่มเทคโนโลยีการเกษตร
      • กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • กลุ่มบริหารธุรกิจและสาขาวิชาการจัดการและโลจิสติกส์และการค้าชายแดน
      • กลุ่มภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
    • บุคลากร
  • ระบบสารสนเทศInformation systems
    • สำหรับนิสิตปัจจุบัน
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน
      • ระบบรายงานตัวนิสิตออนไลน์
      • ระบบเมล
      • ระบบ e-Learning
      • ระบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา
    • สำหรับศิษย์เก่า
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
    • สำหรับอาจารย์
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบ E-learning
      • ระบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน
      • ระบบจัดการข้อมูลหลักสูตร ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา(TQF)
      • ระบบบุคลากรอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบลาอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบเมลบุคลากร
      • ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย
      • ระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองออนไลน์ (e-SAR)
      • ระบบประเมินออนไลน์
    • สำหรับบุคลากร
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน
      • ระบบบุคลากรอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบลาอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบเมลบุคลากร
      • ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย
      • ระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองออนไลน์ (e-SAR)
      • ระบบประเมินออนไลน์
  • หลักสูตรCourse
  • ภารกิจmission
    • งานวิจัย
    • การจัดการความรู้
    • งานประกันคุณภาพ
    • งานบริการวิชาการ
    • งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • ติดต่อเราcontact us
    • สายตรงผู้บริหาร
    • แผนที่
    • คำถามที่ถามบ่อย

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) สาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

  • สาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

คุณสมบัติ

          1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ  ดังนี้
                  - กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต หรือ
                  - กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต หรือ
          2. เป็นผู้สำเร็จการระดับปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ
          3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา ทางด้านไฟฟ้า  ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  อิเล็กทรอนิกส์   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  แมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือ
          4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา ที่มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ปี

ชื่อปริญญา

          ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ)
          ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Applied Artificial Intelligence and Smart Technology)

ปรัชญาหลักสูตร

          หลักสูตรนี้มุ่งสร้างบัณฑิตนักปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ มีทักษะพร้อมปฏิบัติงาน มีคุณธรรม เป็นผู้นำในการขับเคลื่อน การเปลี่ยนรูปหน่วยงานให้เป็นองค์กรอัจฉริยะ มุ่งสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้อง กับความต้องการของยุทธศาสตร์ประเทศ

เกี่ยวกับหลักสูตร

          สาขาวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีอัจฉริยะ และระบบอัตโนมัติเป็นศาสตร์ที่ประยุกต์งานด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับและบูรณาการร่วมกันกับศาสตร์อื่น ๆ ได้เกือบทุกแขนง จึงจำเป็นต้องมีการสร้างบัณฑิตให้ทันต่อการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของสภาพเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกลยุทธ์ขององค์กรต่าง ๆ รวมทั้งความต้องการและกลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยสภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้นจึงควรมีการจัดรูปแบบของหน่วยงานให้สามารถเอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาที่เน้นการวิจัยเชิงบูรณาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีอัจฉริยะ และระบบอัตโนมัติตามความต้องการของสภาพเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม กอปรกับมหาวิทยาลัยบูรพาได้กำหนดยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยแห่ง EEC เพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด จึงจำเป็นที่มหาวิทยาลัยบูรพาจะต้องใช้ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพาคนไทยสู่ความรู้และปัญญา นำพาเศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน  และนำพาสังคมไทยสู่ความเสมอภาค” เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างฉลาด การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้และปัญญา โดยให้โอกาสแก่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอย่างเสมอภาค นำไปสู่การเติบโตอย่างสมดุล

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • นักออกแบบและพัฒนาปรับปรุงปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการเปลี่ยนรูปองค์กรเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) เช่น
    • วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ (Applied Artificial Intelligence Engineer)
    • วิศวกรการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning Engineer)
    • เจ้าหน้าที่ทำงานทางด้านการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลดิจิทัลในองค์กร
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision Engineer)
    • นักพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Developer)
    • นักพัฒนาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things Developer)
    • นักวางแผนการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลดิจิทัล
    • ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านการจัดการเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีข้อมูลดิจิทัล
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลในภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
  • ผู้ประกอบการอิสระด้านการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลดิจิทัล บริษัท StartUP ด้านดิจิทัลเพื่อรับงานวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศอัจฉริยะ รวมถึงเป็น Design House, Intelligent Product Design, และ System Integration ส่วนของ Smart Technology ให้ลูกค้า หรือ Software House ทั่วไป

ความน่าสนใจและกิจกรรม

  • ทุกภาค Summer ไปฝึกปฎิบัติเครื่องมือทางด้าน AI และ Automation ที่ Automation Park ของ EEC
  • AI Camp รวมพลคน AI
  • ศึกษาดูงานด้าน AI และ Smart Technology
  • การร่วมกิจรรมนำเสนอผลงานวิชาการ

หมายเหตุ นิสิตสาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ) เป็นเวลา 9 เดือน ในชั้นปีที่ 4 ถ้านิสิตมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของคณะฯ และผ่านการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • แบบเหมาจ่ายรายภาคเรียนตลอดหลักสูตร : ภาคต้นและภาคปลาย ภาคเรียนละ 25,000 บาท ภาคฤดูร้อนภาคเรียนละ 12,500 บาท

ทุนการศึกษา

  • กยศ.
  • ทุนส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ

เล่มหลักสูตรปรับปรุง 2564 (ใหม่)     ดาวน์โหลดหลักสูตรสาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

เล่มหลักสูตร 2563     ดาวน์โหลดหลักสูตรสาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ

สมัครเรียนต่อ : งานวิชาการฯ , หน่วยรับเข้ามหาวิทยาลัยบูรพา

ติดต่อประธานสาขา : ผศ.ดร.สมบัติ ฝอยทอง เบอร์โทร 0897923128 ไลน์ Sombut

ติดต่อเรา : Facebook สาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยบูรพา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ Line officialLine Group คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

BACK TO TOP

Copyright © 2018 Faculty of Science and Arts, Burapha University,Chanthaburi Campus. All rights reserved.